เรื่องนี้ต้องระวัง! ทำยังไงไม่ให้โดนเอาเปรียบเมื่อต้อง โคเอเจ้นท์

ดีลที่มีนายหน้าทำงานร่วมกันหลายคนคงจะเคยเจอเคสที่ต้อง “ โคเอเจ้นท์ ” กันมาบ้าง

แต่ถ้าใครเป็นนายหน้ามือใหม่ ยังไม่รู้จักว่าการโคเอเจ้นท์คืออะไร เรามีคำอธิบาย แต่ถ้าใครรู้จักแล้ว อ่านข้ามไปได้เลยค่ะ

 

“โคเอเจ้นท์” หรือการทำงานร่วมกันของนายหน้า 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีลูกค้า แต่ไม่มีทรัพย์ อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะมีทรัพย์แต่ไม่มีลูกค้า
เพื่อให้ดีลสมบูรณ์การโคเอเจ้นท์จึงเกิดขึ้น โดยค่าตอบแทนที่ได้รับจากดีลนั้นๆก็จะถูกแบ่งสัดส่วนกัน โดยปกติจะแบ่งกันอยู่ที่ 50/50
ยกตัวอย่างเช่น นายหน้า A มีลูกค้าสนใจคอนโด ก แต่นายหน้า A ไม่มีห้องที่คอนโด ก อยู่ในมือ เห็นนายหน้า B ประกาศหาผู้เช่าให้กับคอนโด ก
นายหน้า A จึงได้ติดต่อโคเอเจ้นท์ กับนายหน้า B เมื่อปิดดีลได้ คอมมิชชั่นสำหรับดีลนี้อยู่ที่ 10,000 บาท นายหน้า A และ B จะได้รับคอมมิชชั่นคนละ 5,000 บาท

.

ดูจากการแบ่งสัดส่วนค่าตอบแทนโดยปกติ 50/50 นั่นหมายความว่าการทำงาน ทั้งสองฝ่ายก็จะต้องช่วยกันในความรับผิดชอบที่เท่าๆกันใช่มั้ยละคะ
แต่เราเชื่อเหลือเกินว่า หลายคนคงจะเจอกับเคสที่โคเอเจ้นท์ไม่ค่อยซัพพอร์ตกันเลย แต่สุดท้ายก็มาแบ่งคอมมิชชั่นไปเต็มๆ 50% เจอแบบนี้คงจะเศร้าน่าดู
วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เคสแบบนี้เกิดขึ้นกันค่ะ เรียกว่ากันไว้ดีกว่าแก้เพราะถ้าจะมารับมือเคสที่เกิดขึ้นไปแล้วคงจะยาก ต้องมีปัญหากันยาวแน่นอนอย่างที่ทุกคนรู้
เรื่องเงินใครจะยอมกันง่ายๆละคะ

.

#แบ่งหน้าที่กันชัดเจนตั้งแต่ต้น
เมื่อเรารู้ว่าจะต้องทำงานร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างก็มีลูกค้าที่ดูแลกันอยู่ชัดเจน
ฝ่ายหนึ่งดูแลลูกค้าที่ต้องการหาห้อง อีกฝ่ายหนึ่งดูแลลูกค้าที่เป็นเจ้าของห้อง
ดังนั้นควรจะตกลงขอบเขตและหน้าที่การทำงาน ให้ชัดเจนกันตั้งแต่ต้น เพื่อให้งานราบรื่น และไม่ล้ำเส้นกัน

.

#มีเอกสารการทำงานกันอย่างชัดเจน
เอกสารเป็นสิ่งที่จะช่วยให้คุณไม่ถูกเอาเปรียบเมื่อตกลงเรื่องการแบ่งค่าตอบแทนและขอบเขตการทำงานได้แล้ว
ควรจะทำเอกสารสัญญาการโคเอเจ้นท์กันให้เรียบร้อย เซ็นรับทราบกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกคนทราบหน้าที่ของตัวเอง
และมีหลักฐานชัดเจนยุติธรรมกับทุกฝ่าย

.

#รับคอมมิชชั่นเป็นเงินสด
เรื่องนี้คงจะต้องแจ้งให้กับทางเจ้าของห้องที่จะเป็นคนให้ค่าตอบแทนกับเรา
เมื่อมีการโคเอเจ้นท์กันขอให้เจ้าของห้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นเป็นเงินสด
จากนั้นนายหน้าก็แบ่งกันตามที่ได้ตกลงกันไว้เลยในวันเซ็นสัญญา
เพื่อป้องกันกรณีที่เจ้าของห้องโอนเงินให้กับนายหน้าท่านหนึ่ง แล้วนายหน้าท่านนั้นไม่ยอมโอนให้กับโคเอเจ้นท์

.

#ตรวจสอบการทำงานของกันและกัน
นอกจากผลประโยชน์ของตัวเองแล้วเราก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าฝั่งเราด้วย
ดังนั้นเอกสารที่นายหน้าแต่ละฝ่ายได้จัดทำขึ้นควรมีการแลกเปลี่ยนเพื่อช่วยกันเช็คความถูกต้องเรียบร้อย
และป้องกันที่ลูกค้าเราจะต้องโดนเอาเปรียบ และมีปัญหากันทีหลัง ถ้าเป็นแบบนั้นต้องคอยแก้ปัญหากันตลอดทั้งดีลแน่นอนค่ะ

.

ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้กันดูนะคะ รับรองว่าป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการโคเอเจ้นท์ได้อย่างแน่นอน

เรื่องนี้ต้องระวัง! ทำยังไงไม่ให้โดนเอาเปรียบเมื่อต้อง โคเอเจ้นท์

______________________________________________________________________

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://shinyurealestate.com/article/category/knowledge

หรือ https://www.facebook.com/Shinyu-Real-Estate-Official-100529669046345