ทะเบียนบ้าน นั้นเป็นเอกสารของทางราชการ ที่ระบุรายชื่อของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน ทะเบียนบ้านจะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็น เจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัย คนไทยใช้ทะเบียนบ้านเพื่อแสดงที่อยู่อาศัย และใช้แสดงเป็นหลักฐานสำคัญในการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ และถ้าคนต่างชาติอยากจะมีชื่อในทะเบียนบ้านบ้างจะต้องทำอย่างไรและเตรียมเอกสารอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ
สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ การขอ ทะเบียนบ้านต่างชาติ จะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น และการนำชื่อชาวต่างชาติเข้าทะเบียนบ้าน จะมี 2 กรณีหลักๆ
1.กรณีที่คนต่างชาติสมรสกับคนไทย และต้องการขอ ทะเบียนบ้านต่างชาติ โดยนำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน หากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้านให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่ โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ทร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้าน สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมก็มีดังนนี้ค่ะ เอกสารเจ้าของบ้าน
– บัตรประชาชนพร้อมสำเนา
– ทะเบียนบ้าน ทร. 14 เล่มจริง พร้อมสำเนา เอกสารของชาวต่างชาติ
– หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำนาที่ทำการแปลเป็นภาษาไทย)
– หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับคนต่างชาติ ออกโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
– ทะเบียนสมรส
– รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป
– พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
2. กรณีที่คนต่างชาติชื้ออพาร์เมนต์หรือคอนโดเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์ ท่านผู้นั้นสามารถยื่นขอมีทะเบียนบ้านของตนบุคคลต่างด้าวนั้นเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
หรือเป็นคนต่างด้าวตามที่กฎหมายกำหนดมีสิทธิซื้อห้องชุด ได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้นและมีสิทธิขอทะเบียนบ้านได้ ประเภท (ทร.13) โดยนำหลักฐานติดต่อ สำนักงานเขตที่คอนโดมิเนียมนั้นตั้งอยู่
เอกสารที่ใช้
– หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำนาที่ทำการแปลเป็นภาษาไทย)
– ทะเบียนบ้าน (ทร.14) (เล่มสีน้ำเงิน) แปลเป็นภาษาไทย
– หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ หนังสือสัญญาซื้อขาย อช. 23
– รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป
– ใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย (ถ้ามี)
– พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
– เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา กรีนการ์ด
– รูปถ่ายหน้าบ้านให้เห็นหมายเลขบ้าน และในห้องหรือในบ้านที่พักอาศัยจริง
สถานที่ติดต่อ
กรุงเทพมหานครปละปริมณทล
– ให้ติดต่อสำนักงานเขตที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด
– สำนักทะเบียนอำเภอ
– สำนักทะเบียนท้องถิ่น
ขั้นตอน
– นำเอกสารทั้งหมด ติดต่อฝ่ายทะเบียนที่สำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนอำเภอนั้น ๆ
– หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พิจารณาเสร็จ จะมีการนัดสัมภาษณ์เจ้าบ้าน ผู้ขอเพิ่มชื่อ และพยานบุคคล
– เจ้าหน้าที่จะพิจารณาและเรียกไปรับเล่มทะเบียนบ้านอีกครั้ง

ส่วนราคาค่าใช้จ่ายเนี่ยแล้วแต่ของแต่ละเขต แต่ละพื้นที่เลยค่ะราคาไม่ได้สูงมาก และใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบประมาณ 60 – 90 วัน แล้วแต่พื้นที่ ถ้าใครคิดว่าต้องใช้เนี่ย เราในฐานะของนายหน้าอสังหาที่มีลูกค้าต่างชาติเป็นส่วนใหญ่จากประสบการณ์แล้วขอแนะนำว่าให้ทำล่วงหน้าไว้เลยนะคะ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาจะใช้ค่ะ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://shinyurealestate.com/article/category/knowledge

หรือ https://www.facebook.com/Shinyu-Real-Estate-Official-100529669046345