ในยุคที่มุมมองการใช้ชีวิตเปิดกว้าง การวางแผนเพื่อซื้อที่พักอาศัยร่วมกัน
ไม่ได้ถูกจำกัดแค่คู่รักชายหญิงหรือคนในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มคู่รัก LGBTQ ที่อยากจะมีบ้านหรือคอนโดฯ ร่วมกัน แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคการกู้ร่วมที่ถึงแม้ว่าธนาคารพาณิชย์หลายสถาบันจะอนุมัติการกู้ร่วมซื้อบ้านในเพศเดียวกัน
แต่มีข้อจำกัดที่ว่าผู้กู้ร่วมต้องเป็นคู่สมรสหรือคนในครอบครัวเดียวกันเท่านั้น
แต่ไม่ต้องห่วงไปนะคะวันนี้เรามีทางออกในการกู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับกลุ่มคู่รักเพศเดียวกัน 3 วิธีที่สามารถทำให้การกู้ร่วมจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ดังนี้
การกู้ร่วม LGBT
.
#เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน
ปัจจุบันกลุ่ม LGTBQ ถือเป็นผู้บริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีหลายธนาคารที่สามารถอนุมัติการกู้ร่วมของคนกลุ่มนี้ได้ นั่นคือ ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน ธนาคารธนชาติ ธนาคารยูโอบี ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกรุงศรีฯ โดยแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป
แต่คุณสมบัติพื้นฐานของที่ผู้ยื่นกู้ร่วมที่เหมือนกันมีดังนี้
– ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
– ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี
– ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
– หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน
สำหรับเอกสารที่ใช้ในการขออนุมัติสินเชื่อบ้านของกลุ่ม LGBTQ นั้น
เรียกได้ว่าไม่ต่างจากเอกสารกู้บ้านพื้นฐานเลย โดยจะแบ่งเป็น
เอกสารส่วนตัว
– บัตรประชาชน
– ทะเบียนบ้าน
– ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล *ถ้ามี
เอกสารด้านการเงิน
– หนังสือรับรองเงินเดือน
– สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
– บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
เอกสารหลักประกัน
– สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิห้องชุด
– สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
– แผนที่แสดงทำเลที่ตั้งของที่ดินหลักประกัน
#เลือกรูปแบบสินเชื่อ ทางลัดที่จะช่วยให้กลุ่ม LGBTQ สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านกันง่ายขึ้น
ถึงแม้บางธนาคารจะเอื้อต่อการกู้ร่วมของกลุ่มเพศทางเลือกให้สามารถกู้ร่วมกันได้
แต่ก็ยังมีจำกัดตามเงื่อนไขที่กำหนด ด้วยเหตุนี้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินหลายแห่งจึงแนะนำทางลัดให้เหล่า LGBTQ ให้กู้ร่วมกันได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือ SME ซึ่งกลุ่มคู่รักเพศเดียวกันสามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านเป็นสถานประกอบการได้ แต่มีช่วงระยะเวลาการกู้นานสุดเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้นและมีดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อบ้านอีกด้วย
.
.
สุดท้ายนี้การกู้ร่วมถือว่าเป็นตัวช่วยหนึ่งให้ผู้คนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองตามที่ใฝ่ฝันได้ง่ายขึ้น และถึงแม้ว่าในยุคสมัยนี้สถาบันการเงินหลายๆ แห่ง จะเปิดใจรับการกู้ร่วมของคู่รัก ‘LGBTQ+’ มากขึ้น แต่อยากให้ทุกคนพิจารณาเรื่องความพร้อมของตัวเองและผู้กู้ร่วมเป็นสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลังด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sansiri.com

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://shinyurealestate.com/article/category/knowledge

หรือ https://www.facebook.com/Shinyu-Real-Estate-Official-100529669046345